วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีการสอนแบบสาธิต


https://thida3134.wordpress.com/วิธีการสอน/วิธีการสอนแบบสาธิต ได้อธิบายการสอนแบบสาธิตไว้ว่า
วิธีการสอนแบบสาธิต
การสาธิต คือ วิธีสอนที่ผู้สอนหรือวิทยากรแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆกับการบอก อธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในเชิงรูปธรรม ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการ ขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ วิธีการสอนแบบสาธิตเป็นวิธีการที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นผู้วางแผน ดำเนินการ และลงมือปฏิบัติ (รพีพรรณ สาครสินธุ์,2524,หน้า 76)
การสาธิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สาธิตวิธี หมายถึง ผู้สอนแสดงวิธีทำสิ่งต่างๆให้ผู้เรียนได้เห็นวิธีทำอย่างชัดเจน ตามขั้ตตอน ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำวิธีการนั้นๆไปปฏิบัติตามได้ผลด้วยตนเอง
2.สาธิตผล หมายถึง ผู้สอนได้แสดงผลงานที่ได้ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้วมาให้ผู้เรียนได้ดูการสาธิตแบบนี้จะได้ผลเฉพาะผู้ที่สนใจงานนั้นๆอยู่แล้ว เช่น การปักผ้าแบบต่างๆ เป็นต้น
ความมุ่งหมาย
1.เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
2.เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาวิชาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เขาใจง่ายขึ้นและประหยัดเวลา
3.เพื่อให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้
ขั้นตอนการสอน
1. ผู้สอนแสดงการสาธิต ผู้เรียนสังเกตการสาธิต
2. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต
3. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนของการสอนแบบสาธิต
1.      ขั้นเตรียมการสอน
1.1    กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยวิธีการสาธิต
1.2    ศึกษาเนื้อหาสาระให้ชัดเจนและจัดลำดับให้เหมาะสม
1.3    เตรียมกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติ
1.4    เตรียมสื่อ อุปกรณ์ เอกสารให้เพียงพอกับผู้เรียน
1.5    กำหนดเวลาการสาธิตให้พอเหมาะ
1.6    กำหนดวิธีการประเมินผล
1.7    เตรียมสภาพห้องเรียน
1.8    ทดลองสาธิตก่อนสอนจริงในห้องเรียน
2.      ขั้นสาธิต
2.1    แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้
2.2    บอกให้นักเรียนรู้บทบาทของตนเอง ได้แก่ การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึก การสรุป
2.3    แนะนำสื่อการเรียนรู้
2.4    ดำเนินการสาธิต
3.      ขั้นสรุป
3.1    ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปผลที่เกิดจากการสาธิต
3.2    บันทึกขั้นตอนการสาธิตพร้อมทั้งผลที่เกิดขึ้น
4.      ขั้นวัดและประเมินผล
4.1    ผู้เรียนทดลองสาธิตให้ผู้อื่นดูพร้อมทั้งบอกผลและข้อคิดที่ได้
4.2    ให้เขียนรายงาน ตอบคำถามจากแบบฝึกหัด และแสดงความคิดเห็น
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
1)      ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2)      ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3)      ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4)      ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5)      ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ข้อจำกัด
1)      หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2)      ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3)      ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลยผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4)      บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา
เทคนิคการสอนด้วยวิธีสาธิต
ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
การ กำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่าง เป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิตการใส่สายสวนปัสสาวะ
2 การ เตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน
ขณะทำการสาธิต
ผู้สอนควรอธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสาธิตหลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่างๆอาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือการให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อนโดยให้ไปอ่านเอกสารหนังสือหรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจนในขณะสาธิตผู้สอนต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้น ตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ภายหลังการสาธิต
เมื่อการสาธิตจบลงแล้วการย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิตไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอนก็ต้องให้มีการสรุปทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเองโดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกันหรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์หรือสไลด์ประกอบเสียงโดยการสอบถามแจกแบบสอบถามแบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ
                การวัดและประเมินผล
การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมินอาจจะโดยการสังเกตวิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใดแต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม


https://honeylamon.wordpress.com/วิธีการสอน-2/วิธีการสอนแบบสาธิต ได้อธิบายการสอนแบบสาธิตไว้ว่า

วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
ความหมาย
วิธีสอนแบบสาธิต 
หมายถึง การที่ครูหรือนักเรียนคนใดคนหนึ่งแสดงบางสิ่งบางอย่างให้นักเรียนดูหรือให้เพื่อนๆดูอาจเป็นการแสดงการใช้เครื่องมือแสดงให้เห็นกระบวนการวิธีการกลวิธีหรือการทดลองที่มีอันตราย ซึ่งไม่เหมาะที่จะให้นักเรียนทำการทดลอง การสอนวิธีนี้ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถทำในสิ่งนั้นได้ถูกต้องและยังเป็นการสอนให้นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกตและถือว่าเป็นการได้ประสบการณ์ตรงวิธีหนึ่งวิธีสอนแบบสาธิตจึงเป็นการสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางเพราะผู้สอนเป็นผู้วางแผนดำเนินการและลงมือปฏิบัติผู้เรียนอาจมีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อยวิธีสอนแบบนี้จึงเหมาะสำหรับ จุดประสงค์การสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา ศิลปศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ วิชาในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ เป็นต้น(ทิศนา  แขมมณี ,2557,หน้า19)
 วัตถุประสงค์
1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลายๆด้านเช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่างๆและสามารถสรุปผลได้
4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่นๆด้วยได้
จำนวนผู้เรียน
การสาธิตเป็นการแสดงให้ดูการลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไปเช่น 5-7 คนหรือน้อยกว่าอย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายวิธีการสาธิตสถานที่หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต
ระยะเวลา
ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหาเรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามากการสาธิตก็ต้องใช้เวลานานหรืออยู่ที่วิธีการสาธิตบางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้นแต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที
 ลักษณะห้องเรียน
การสอนแบบสาธิตอาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบคือ
1 การสาธิตในห้องทดลองกระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้
2 การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น
3 การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน
ลักษณะเนื้อหา
รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้
บทบาทผู้สอน
วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง
บทบาทผู้เรียน
วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
ขั้นตอนในการสอนแบบสาธิต
1.      ขั้นเตรียมการสอน
1.1    กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยวิธีการสาธิต
1.2    ศึกษาเนื้อหาสาระให้ชัดเจน  และจัดลำดับให้เหมาะสม
1.3    เตรียมกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติ
1.4    เตรียมสื่อ อุปกรณ์ เอกสารให้เพียงพอกับผู้เรียน
1.5    กำหนดเวลาการสาธิตให้พอเหมาะ
1.6    กำหนดวิธีการประเมินผล
1.7    เตรียมสภาพห้องเรียน
1.8    ทดลองสาธิตก่อนสอนจริงในห้องเรียน
2.      ขั้นสาธิต
2.1    แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้
2.2    บอกให้นักเรียนรู้บทบาทของตนเอง ได้แก่ การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึก การสรุป
2.3    แนะนำสื่อการเรียนรู้
2.4    ดำเนินการสาธิต
3.      ขั้นสรุป
3.1    ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปผลที่เกิดจากการสาธิต
3.2    บันทึกขั้นตอนการสาธิตพร้อมทั้งผลที่เกิดขึ้น
4.      ขั้นวัดและประเมินผล
4.1    ผู้เรียนทดลองสาธิตให้ผู้อื่นดูพร้อมทั้งบอกผลและข้อคิดที่ได้
4.2    ให้เขียนรายงาน ตอบคำถามจากแบบฝึกหัด และแสดงความคิดเห็น
ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
1.      นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง
2.      สร้างความสนใจ และความกระตือรือร้น
3.      ฝึกการสังเกต การสรุปผล การบันทึก และการจัดขั้นตอน
ข้อจำกัดของการสอนแบบสาธิต
1.      การสาธิตบางครั้งไม่สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
2.      ผู้สอนต้องแนะนำขั้นตอน อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสาธิตอย่างชัดเจน
3.      ผู้สอนต้องทดลองการสาธิตก่อนสอนให้แม่นยำเพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ได้อธิบายการสอนแบบสาธิตไว้ว่า
วิธีสอนการสอนแบบสาธิต(Demonstration Method)
ความหมายของการสาธิต
การสาธิต  หมายถึง  การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง   หรือการแสดง   หรือการกระทำสิ่งต่างๆให้ผู้เรียนดู
วิธีการสอนแบบสาธิต  หมายถึง  วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง
แนวทางในการสาธิต
1.การสาธิตแบบบอกความรู้เป็นการสาธิตที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนการสาธิตว่าจะทำอะไร อย่างไรและจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วให้ผู้เรียนสังเกตการณ์สาธิต  พร้อมอธิบายตามไปด้วย
2.การสาธิตแบบค้นพบความรู้เป็นการสาธิตที่ผู้สาธิตหรือครูตั้งคำถามให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจแล้วจึงให้ผู้เรียนคอยสังเกตจาการสาธิตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่างไร

ประเภทของการสาธิต
ซันด์และโทรบริดจ์ (Sund and Throwbridge  1973 : 117-118)ได้แบ่งการสาธิตออกเป็น  6 ประเภทดังนี้
1.ครูแสองการสาธิตคนเดียว
2.ครูและนักเรียนร่วมกันสาธิต
3.กลุ่มนักเรียนเป็นผู้สาธิต
4.นักเรียนคนเดียวเป็นผู้สาธิต
5.วิทยากรเป็นผู้สาธิต
6.การสาธิตเงียบ
เทคนิคการสาธิต
การสาธิตในเรื่องที่แปลกใหม่น่าสนใจจะเน้นให้นักเรียนเห็นกระบวนการอย่างชัดเจนโดยมีส่วนร่วมในการสาธิตตั้งคำถามซึ่งช่วยในการสอนแบบสาธิตได้ผลดียิ่งขึ้นเทคนิคการสาธิตมีดังนี้
1.เลือกสาธิตเรื่องที่สนใจและเป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับนักเรียน
2.ไม่ควรบอกผลการสาธิตให้นักเรียนทราบล่วงหน้า
3.พยายามให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสังเกตซักถามและตอบคำถาม
4.ในระหว่างสาธิตไม่ควรบรรยายมากเกินไป
5.ไม่ควรเร่งการสาธิตอาจทำให้นักเรียนตามไม่ทันและไม่เข้าใจ
6.ควรให้เด็กทุกคนมองเห็นได้ทั่วถึงและครูควรเอาใจใส่ต่อผู้เรียนทุกคน
7.การสรุปผลควรให้นักเรียนเป็นผู้สรุป
8.ต้องประเมินผลการสาธิตทุกครั้งว่าเด็กเข้าใจหรือไม่
จุดประสงค์ของวิธีการสอนแบบสาธิต
1.เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
2.เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่ยาก
3.เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจ
4.เพื่อแสดงวิธีการหรือกลวิธีในการปฏิบัติงาน
5.เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจฝนบทเรียน และทบทวนบทเรียน
ขั้นตอนการสอนแบบสาธิต
วิธีการสอนแบบสาธิตมีขั้นตอนการสอนดั้งนี้
1.ขั้นเตรียมการสาธิต เป็นขั้นตอนการทำการสาธิต ซึ่งครูควรเตรียมตัวดังนี้
1.1ศึกษาบทเรียนที่จะสาธิตให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
1.2เตรียมอุปกรณ์ที่จะสาธิตให้พร้อม
1.3ทดลองการสาธิตดูก่อน
1.4จัดชั้นเรียนให้เหมาะสมกับการสาธิตบทเรียน
1.5เขียนแผนภูมิแสดงขั้นตอนของการสาธิตไว้
 2.ขั้นสาธิต เมื่อครูเข้าสู่ชั้นเรียนแล้วจึงดำเนินการสอนตามลำดับดังนี้
2.1เร้าความสนใจของนักเรียน
2.2ทำการสาธิตให้นักเรียนดูโดยยึดหลักในการสาธิตดังนี้
2.2.1 สาธิตตามลำดับขั้น
2.2.2 สาธิตช้าๆพร้อมกับบรรยายเพื่อให้นักเรียนติดตามทัน
2.2.3 สาธิตเฉพาะเรื่องบทเรียนนั้นๆ
2.2.4 ให้นักเรียนเห็นทั่วถึงหรืออาจให้นักเรียนออกมาสังเกตสาธิตที่ละกลุ่ม
2.2.5 ครูคอยสังเกตความสนใจและความตั้งใจของนักเรียน
2.2.6 ครูให้นักเรียนมาร่วมทำการสาธิตด้วยได้
2.2.7เน้นขั้นตอนสำคัญๆของการสาธิตและเขียนสรุปบนกระดานดำ
3.ขั้นสรุปและวัดผล
3.1ให้นักเรียนร่วมกันเล่าสรุปเป็นตอนๆ
3.2.ให้นักเรียนทุกคนเขียนข้อสรุปส่งครูเพื่อให้คะแนน
3.3ให้นักเรียนสาธิตเพื่อสังเกตดูว่านักเรียนทำได้และเข้าใจหรือยัง
3.4ทดสอบ
ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
1.นักเรียนมองเห็นตัวอย่างแบบอย่าง  ขั้นตอน ของการปฏิบัติทำให้เข้าใจลึกซึ้งมีเหตุผล
2.ประหยัดเวลาของครูและนักเรียนเพราะเห็นตัวอย่างชัดเจน
3.ประหยัดวัสดุ
4.การสาธิตให้ดูแล้วปฏิบัติย่อมปลอดภัย
 ข้อจำกัด
1.การควบคุมชั้นเรียนอาจมีปัญหาเรื่องความสงบเรียบร้อยในชั้นเรียน
2.หากการเตรียมตัวไม่ดีพออาจเกิดอุบัติเหตุหรือผิดพลาด
3.หากการสาธิตไม่เป็นไปตามขั้นตอนอาจทำให้เสียเวลามาก
สรุป
การสอนแบบสาธิตเป็นการสอนที่มีครูผู้สอนเป็นศูนย์กลางคอยวางแผนการสอนและอธิบายไปพร้อมๆกับการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการสังเกตุจากการแสดงตัวอย่างของครูผู้สอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเชิงรูปธรรม 
ความมุ่งหมาย
1.เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
2.เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาวิชาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เขาใจง่ายขึ้นและประหยัดเวลา
3.เพื่อให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้
4. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส
5. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น
6. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้
7. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้

ขั้นตอนของการสอนแบบสาธิต
1.      ขั้นเตรียมการสอน
1.1    กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้โดยวิธีการสาธิต
1.2    ศึกษาเนื้อหาสาระให้ชัดเจนและจัดลำดับให้เหมาะสม
1.3    เตรียมกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติ
1.4    เตรียมสื่อ อุปกรณ์ เอกสารให้เพียงพอกับผู้เรียน
1.5    กำหนดเวลาการสาธิตให้พอเหมาะ
1.6    กำหนดวิธีการประเมินผล
1.7    เตรียมสภาพห้องเรียน
1.8    ทดลองสาธิตก่อนสอนจริงในห้องเรียน
2.      ขั้นสาธิต
2.1    แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้
2.2    บอกให้นักเรียนรู้บทบาทของตนเอง ได้แก่ การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึก การสรุป
2.3    แนะนำสื่อการเรียนรู้
2.4    ดำเนินการสาธิต
3.      ขั้นสรุป
3.1    ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปผลที่เกิดจากการสาธิต
3.2    บันทึกขั้นตอนการสาธิตพร้อมทั้งผลที่เกิดขึ้น
4.      ขั้นวัดและประเมินผล
4.1    ผู้เรียนทดลองสาธิตให้ผู้อื่นดูพร้อมทั้งบอกผลและข้อคิดที่ได้
4.2    ให้เขียนรายงาน ตอบคำถามจากแบบฝึกหัด และแสดงความคิดเห็น

ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
1.      สร้างความสนใจ และความกระตือรือร้น
2.      ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
3.      ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
4.      ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
5.      ฝึกการสังเกต การสรุปผล การบันทึก และการจัดขั้นตอน
6.      ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
7.      ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
8.      ประหยัดวัสดุ
ข้อจำกัด
1.  หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
 2. ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
 3. ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลยผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
 4. บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา
 5. ผู้สอนต้องแนะนำขั้นตอน อุปกรณ์ ที่ใช้ในการสาธิตอย่างชัดเจน

6. ผู้สอนต้องทดลองการสาธิตก่อนสอนให้แม่นยำเพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
ที่มา
https://thida3134.wordpress.com/วิธีการสอน/วิธีการสอนแบบสาธิต. วิธีการสอน.   เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.
https://honeylamon.wordpress.com/วิธีการสอน-2/วิธีการสอนแบบสาธิต วิธีการสอน-2.  เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.
https://beebeecom.wordpress.com/วิธีการสอนแบบสาธิต/วิธีการสอนแบบสาธิตdemonstrat. วิธีการสอนแบบสาธิต.   เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558.